เว็บใหม่ ซื้อขายนาฬิกามือสอง

เลือกห้อง

ผู้เขียน หัวข้อ: Corum เหรียญทองขนาด 10$ ไขลาน เหรียญปี 1886 อายุ 137 ปี  (อ่าน 959 ครั้ง)

ออฟไลน์ visitt

  • VIPmember
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,034
    • ดูรายละเอียด























   Corum เหรียญทองขนาด 10$ ไขลาน

- ขนาด 28 มม บาง 5.5 มม ตัวเรือนทอง 18k หน้าปัดเป็นเหรียญทองคำแท้ 22k กระจกแซฟไฟร์

- บรรจุกลไกไขลาน Frederic Piguet  บางเพียง 5.5 มม.

- สภาพเหรียญสวยสมบูรณ์ เหรียญปี 1886  ผลิตที่โรงงานกษาปณ์ ฟิลาเดเฟีย เป็นเหรียญทองที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน อายุ  135 ปี

- นาฬิกาเดินตรงปกติ พึ่งเซอร์วิสมา มาพร้อมกล่อง ซองหนังดังรูป บัคเคิ้ลเดิมทองชุบ สายหนังไม่เดิม ไม่มีใบ ** ยินดีตรวจเช็คได้ *






[size=180]   ราคา 119,000 บาท โทร 098-4015421  ไลน์ kpseng[/size]




 สำหรับประวัติของเหรียญทอง เชิญอ่านเพิ่มเติมได้ครับ



     




        ย้อนเวลาไปในช่วงทศวรรษ 1960's  Corum ได้ผลิตนาฬิการุ่นเหรียญทอง Coin Watch  เป็นครั้งแรกในปี 1964
จำนวน 12 เหรียญ โดยทาง Corum ได้ไปเสาะแสวงหาเหรียญทองคำแท้ ที่ยังเหลืออยุ่จริงในมือนักสะสม  (ซึ่งเหรียญทองคำ ได้ถูกยกเลิก และเรียกคืนในปี 1933 สมัย ประธานธิบดี แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์  )  ส่วนประวัติของเหรียญทอง ว่าหล่อที่ใดเป็นครั้งแรกไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันเริ่มผลิตในยุคตื่นทองในแคลิฟอร์เนีย ในปี 1848 "The California Gold Rush"




    ซึ่งทองที่ขุดได้นั้น มีมูลค่า สามารถนำไปแลกอาหาร สินค้า รวมทั้งออกเป็นตั๋วมุลค่าของทองนั้น จนกระทั่งมีการหล่อเหรียญทองคำออกมา ตามมูลค่าต่าง ๆ และรูปแบบแตกต่างกัน ตามแต่ละโรงกษาปณ์ที่จะหล่อเหรียญออกมา



   ซึ่งจะมีการตีตรา mintmark ไว้บนเหรียญ ว่าหล่อจากโรงงานหล่อเมืองไหนThe mint marks are "C", "CC", "D", "D", "O", "P", "S", and "W".

"C": Charlotte, North Carolina (gold coins only; 1838–1861).
"CC": Carson City, Nevada (1870–1893).
"D": Dahlonega, Georgia (gold coins only; 1838–1861).
"D": Denver, Colorado (1906 to date).
"O": New Orleans, Louisiana (1838–1861; 1879–1909).
"P": Philadelphia, Pennsylvania (1793 to date).
"S": San Francisco, California (1854 to date).
"W": West Point, New York (1984 to date)
ถ้าเหรียญที่ไม่มี Mint mark จะเป็นเหรียญที่ผลิตจาก Philadephiaในช่วงก่อนปี 1793
 
 

    สำหรับเหรียญที่ Corum เลือกมาผลิตนาฬิการุ่นนี้ ชื่อรุ่น Head of Liberty ออกแบบโดย James B. Longacre ผลิตในช่วงปี 1849 - 1907 ที่ด้านหนึ่งจะเป็นรูปเทพีสันติภาพซึ่งล้อมด้วยดวงดาว 13 ดวง หมายถึงอาณานิคมที่รวมตัวกันประกาศเป็นอาณานิคมอิสระบนทวีปอเมริกา อีกด้านหนึ้งแสดงสัญลักษณ์ของอเมริกาอันประกอบด้วยนกอินทรี และข้อความ in god we trust ล้อมลอมด้วยดวงดาว อุ้งเล็บของนกอินทีย์ รั้งกิ่งของมะกอกและลูกศร กิ่งมะกอกเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพลูกศรเป็นสัญลักษณ์แห่งอิสระภาพ


   ซึ่งเหรียญมูลค่า 20 ดอลลาร์ หรือที่เรียกกันว่า Double Eagle ขนาด ประมาณ 34 mm ประกอบด้วยทอง 90% copper 10% น้ำหนักรวมประมาณ 33 กรัม (คิดเป็นน้ำหนักทองก็ราว ๆ 30 กรัม)

    ซึ่งชื่อ Double Eagle  นั้นมีที่มา จากในยุคแรกของการผลิตเหรียญทอง มูลค่าเหรียญที่สูงสุดคือ 10 ดอลลาร์
 ( จะมีสัญลักษณ์มาครบ ทั้ง อินทรีย์ ช่อมะกอก และ ลูกศรครับ พอจะผลิตเหรียญ 20 ดอลลาร์ ก็ไม่สามารถจะหาออปชั่นไรใส่เพิ่มได้แล้วครับ ก็เลยสัญลักษณ์เหมือนกับ 10 ดอลลาร์ )






  ซึ่งคนมักจะนิยมเรียกกันว่า eagle dollar (10 dollar ) จนกระทั่งในปี 1850 สภาคองเกรสในอนุมัติผลิตเหรียญมูลค่า 20 ดอลลาร์ ขึ้นมา (ด้วยสาเหตุทาง เศรษฐกิจและการเงินนะคับ อันนี้ผมไม่เข้าใจเหมือนกัน  :'( ) คนจึงมักเรียกเหรียญมูลค่า 20 ดอลลาร์ ว่า Double Eagle ครับ
    
    แล้วมูลค่ามันเยอะขนาดไหน ในช่วงเวลานั้น ... ในปี 1900 ราคาเข้าพักที่ The Plaza Hotel ตกคืนละ 1.5 ดอลลาร์ (ปัจจุบัน คืนละ 2,500-3,000 ดอลลาร์คับ) ค่าเบียร์ ค่าแซนวิซ ดูหนัง อีกตั้ง 75 cents...
    แค่เพียง double eagle เหรียญเดียว คุณสามารถใช้ชีิวิตแบบ First Class ได้เป็นสัปดาห์ในนิวยอร์คเลยครับ  :o :o


   
       ในปี 1933  ปธ.รูสเวลท์ ประกาศเรียกคืนเหรียญทองคำ และห้ามใช้ ทำให้มูลค่าทางตลาดของเหรียญทองคำสิ้นสุดลง แต่คุณค่าในตัวเหรียญเอง และประวัติศาตร์ทางการเงินที่ยาวนาน ทำให้มูลค่าในหมู่นักสะสม ไม่ได้หมดสิ้นไป กลับเพิ่มทวีคูณ แบบไม่อาจจะคาดถึง ..




 

   
 เหรียญ Duble Eagle รุ่น Lady Liberty ผลิตในปี 1933 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการผลิตเหรียญทอง


   ประมูลจบไปในปี 2002 ที่ราคา 7.59 ล้านเหรียญดอลลาร์ครับ  :o :o


  ในปี 1964 Corum ได้ผลิตนาฬิกา โดยใช้เหรียญ Double Eagle ที่คัดเลือกมาจากนักสะสม ที่สภาพสมบูรณ์ที่สุด (เอกลักษณ์ของ เหรียญทองที่นำมาผลิต แต่ละเหรียญจะมีสภาพ และร่องรอย คราบ ไม่เหมือนกันครับ .. บางคนถือว่าเป็น รอยจารึกทางประวัติศาสตร์ที่ยังมีีชีวิตครับ )  มาผลิตเป็นนาฬิกา โดยผ่านกระบวนการฝานเหรียญออกเป็น 2 ฝั่ง และบรรจุด้วยกลไกไขลาน แบบบางพิเศษ  โดยช่างชั้นครูจาก Corum ผลิตจำนวน 12 เรือน ซึ่งถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว

 



  


ภาพตัวอย่างการทำนาฬิกา ต้องฝานเหรียญเป็น 2 ด้านและบรรจุกลไกลงไป








  รุ่นหลังได้ผลิตแบบมีนาฬิกาฝังอยู่ภายในตัวเหรียญ (หลายยี่ห้อได้ผลิตดีไซน์แบบนี้ออกตามกันมา ไม่ว่าจะเป็น Vacheron , Audermars Piguet )






    ก่อนที่เปิดตัว รุ่น Coin Watch อย่างเป็นทางการในงาน Bazel 1965 ซึ่งได้มีการเลือกเหรียญทองคำรุ่นมาผลิต แต่ที่เห็นกันบ่อย จะเป็นเหรียญรุ่น Head of Liberty  เพิ่มกลไก มีควอทซ์ ,และ ออโตเมติก สายหนัง และสายทอง เม็ดมะยมเพชร ทับทิม โกเมน  จวบจนกระทั่งปัจจุบัน  

   Corum Coin watch ถือเป็นรุ่นในตำนานของ Corum และวงการนาฬิกาครับ ถ้าเอ่ยถึง Coin Watch ก็ย่อมจะนึกถึง Corum เป็นลำดับแรกครับ ถ้าจะเอ่ยถึง Corum รุ่น เหรียญทอง ก็ถือเป็นรุ่นที่สูงสุด อมตะขึ้นหิ้งเลยนะคับ ซึ่ง ปธน.สหรัฐ หลายคน และ บุคคลที่สำคัญต่าง ๆของโลก ได้มีนาฬิการุ่นนี้ เป็นหนึ่งใน Collection ครับ